Hetalia: Axis Powers - Taiwan

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 2



**บันทึกอนุทิน**
ประจำวันที่ 4 กันยายน 2557


 การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษาประกอบด้วย

- การฟัง
- การพูด
- การอ่าน
- การเขียน

องค์ประกอบของภาษา
1.Phonology 
2.Semantic
3.Syntax
4.Pramatic

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
1.ระยะเปะปะ อายุแรกเกิดถึง 6 เดือน เด็กจะเปล่งเสียงดังๆ ออกเสียง อ้อ แอ้
2.ระยะแยกแยะ อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี แยกแยะเสียงต่างๆที่ได้ยิน พอใจที่ได้ส่งเสียง
3.ระยะเลียนแบบ อายุ 1-2 ปี เลียนเสียงต่างๆที่ได้ยิน พูดย้ำคำซ้ำๆไปมา ใช้คำศัพท์ได้ 5-20 คำ ทำตามคำสั่งได้ง่ายๆ
4.ระยะขยาย อายุ 2-4 ปี
-อายุ 2 ปี พูดเป็นคำ รู้จักศัพท์ 150-300คำ ใช้สรรพนามแทนตัวเอง
-อายุ 3 ปี พูดเป็นประโยคได้ รู้จักศัพท์ 900-1000 คำ สนทนาโต้ตอบประโยคสั้นๆได้
-อายุ 4 ปี บอกชื่อสิ่งของในรูปได้ ใช้คำบุพบทได้ รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี ชอบเล่าเรื่อง
5.ระยะโครงสร้าง อายุ 4-5 ปี ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดีขึ้น เริ่มเล่นสนุกกับคำ ทำตามคำสั่ง 3 อย่างต่อกันได้ รู้จักเวลาคร่าวๆ
6.ระยะตอบสนอง อายุ 5-6 ปี สนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวได้ รู้จักใช้คำถาม ทำไม อย่างไร
7.ระยะสร้างสรรค์ อายุ 6 ปีขึ้นไป เข้าใจคำพูดในสังคม ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา

1.วุฒิภาษา
2.สิ่งแวดล้อม
3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
4.การจัดชั้นเรียน
5.การมีส่วนร่วม



 **ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน**


*วันนี้เราเรียนเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย*
*ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยไม่ใช่แค่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร แต่อยู่ในรูปแบบของรูปภาพด้วย*


*คุณครูปฐมวัยควรใช้คำที่ถูกต้อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ*


*คุณครูให้ตัวแทนกลุ่มออกไปจับสลาก เพื่อทำงานกลุ่ม นำเสนอ Power Point*





*กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้*

"เป็นคุณครูต้องลายมือสวย ดังนั้นต้องฝึกคัดลายมือ"




  ** สรุป **

       จากการเรียนวันนี้ ทำให้ทราบว่าภาษาเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย ที่กำลังเจริญเติบโตและมีพัฒนาการ คุณครูผู้สอนจึงควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัยของเขา รวมทั้งสนับสนุนให้เขาได้ใช้ความคิดจินตนาการในแบบที่เขาอยากสื่อสารออกมาในรูปแบบของภาษาด้วย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น