Hetalia: Axis Powers - Taiwan

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 5



** บันทึกอนุทิน **
ประจำวันที่ 25 กันยายน 2557



แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาของเด็กปฐมวัย

                            
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
- เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน


Richard  and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม คือ

1.มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
   - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อสารความหมาย
   - เสียง ไวยากรณ์  การประกอบคำเป็นวลีหรือประโยค
2.มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
   - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
   - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
   - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3.มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
   - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
   - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
   - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา


การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา ( Skill Approch)
- ให้เด็กได้รู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
- การประสมคำ
- ความหมายของคำ
- นำคำมาประกอบเป็นประโยค
- การแจกลูกสะกดคำ  การเขียน
  

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
- สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
- ช่างสงสัย ช่างซักถาม
- มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
- ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
- เลียนแบบคนรอบข้าง


Kenneth Goodman

- เสนอแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
- มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
- แนวทางการสอบมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก


การสอนภาษาธรรมชาติ ( Whole Language)

- สอนแบบบูรณาการ/องค์รวม
- สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
- สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
- สอดแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
- ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
- ไม่บังคับให้เด็กเขียน


หลักของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
1.การจัดสภาพแวดล้อม
2.การสื่อสารที่มีความหมาย
3.การเป็นแบบอย่าง
4.การตั้งความหวัง
5.การคาดคะเน
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
7.การยอมรับนับถือ
8.การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น


บทบาทของครู
- ครูคาดหวังกับเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน
- ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่าน การเขียน
- ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเด็ก
- ครูสร้างความสนใจในคำและสิ่งพิมพ์





** ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน **
                                      















** กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ **










** ผลงานที่น่าภาคภูมิใจของพวกเรา ^^" **






                                         ** สรุป **

              จากการเรียนการสอนในวันนี้เราสามารถนำความรู้ที่ได้ใช้ในการสอนเด็กปฐมวัย เด็กในช่วงนี้ไม่ควรท่อง หรือสะกดคำ ภาษาธรรมชาติสำหรับเด็กจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยภาษาธรรมชาติจะอยู่รอบๆตัวเด็กและในชีวิตประจำวันของเด็ก เด็กอาจเห็นภาพแล้วรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร แม้ว่าเด็กจะอ่านหนังสือไม่ออกก็ตาม เราไม่ควรไปบังคับให้เด็กท่อง สะกดคำ เพราะเด็กอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของคำ ดังนั้นจึงควรให้เด็กได้เรียนรู้ประสบการณ์ภาษาด้วยตัวเอง ครูมีหน้าที่คอยให้คำแนะนำและส่งเสริมให้เด็กได้มีพัฒนาการที่รอบด้าน และเหมาะสมกับวัย











วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 4



** บันทึกอนุทิน **
ประจำวันที่  18 กันยายน 2557





**ในวันนี้พวกเรานำเสนองานกลุ่มกันคะ**


เรื่อง ทักษะ 4 ทักษะ คือ
-ทักษะการฟัง
 -ทักษะการพูด
  -ทักษะการอ่าน
   -ทักษะการเขียน




** ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน **



** คุณครูชี้แจง ก่อนนำเสนองาน **





** กลุ่มแรกนำเสนอเรื่อง ทักษะการฟัง **




** กลุ่มที่สองนำเสนอเรื่อง ทักษะการพูด **




** คุณครูสรุปเรื่องทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย **



**กลุ่มที่สามนำเสนอเรื่อง ทักษะการอ่าน**




** กลุ่มที่สี่นำเสนอเรื่อง ทักษะการเขียน **



** คุณครูสาธิตการจับดินสอของเด็กในแต่ละวัย **





** ถึงเวลากลุ่มของพวกเรานำเสนอแล้ว **




** คุณครูกล่าวสรุปในทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน **






** สรุป **

                 ในการเรียนวันนี้ทำให้เราทราบถึงทักษะต่างๆของเด็กปฐมวัย ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่าน เขียน ในแต่ละช่วงวัยของเด็กปฐมวัยว่ามีพัฒนาการเป็นมาอย่างไร รวมทั้งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กให้ดียิ่งขึ้นไปด้วย เราต้องเข้าใจเด็กและคอยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาของเขาให้ดียิ่งขึ้นเหมาะสมกับวัย













































ครั้งที่ 3



**บันทึกอนุทิน**
ประจำวันที่ 11 กันยายน 2557




แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย

1.แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม

-ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ ( Skinner )
-John B. Watson
2.แนวคิดของกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
-ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ( Piaget)


กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 2 กระบวนการ คือ

1.การดูดซึม ( Assimilation)
2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม (Accommodation)
**เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล (Equilibrium) "กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง"


Piaget ได้แบ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษาดังนี้
1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส
2.ขั้นเตรียมการความคิดสมดุล
3.ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
4.ขั้นการคิดแบบนามธรรม


3.แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
- อาร์โนล์ กีเซล ( Arnold Gesell)

- Noam Chomky
- O.Hobart Mowrer


จิตวิทยาการเรียนรู้

1.ความพร้อม

2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.การจำ
4.การให้แรงเสริม





 

**ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน**


** วันนี้คุณครูจะมาสอนเรื่อง "แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย" **


** ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ ( Skinner) **





**ทฤษฎีของ John B Watson**







**สอนไปยิ้มไป นักศึกษาได้รับความรู้และความรัก **









**กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้**




**ออกมานำเสนอว่าทำไมถึงวาดรูปนี้ ที่วาดรูปนี้เพราะเป็นตุ๊กตาแมวคิตตี้ที่แม่ซื้อให้ในวันเกิดจึงเป็นสิ่งที่รักที่สุด**





**สรุป**

           
            ในการเรียนการสอนวันนี้ ทำให้เราทราบว่าในแต่ละแนวคิดของนักการศึกษามีความสอดคล้องต่อพัฒนาการภาษาของเด็กปฐมวัยอย่างไร และเขามีวิธีคิดเเละพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่าง อีกกิจกรรมหนึ่งที่ได้ทำคือการวาดภาพ ระบายสี เป็นการฝึกให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเป็นอย่างดี เราในฐานะคุณครูปฐมวัย ควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์นี้อย่างเต็มที่ เพราะเป็นการแสดงออกทางภาษาในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือ รูปภาพนั่นเอง





ครั้งที่ 2



**บันทึกอนุทิน**
ประจำวันที่ 4 กันยายน 2557


 การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ

ทักษะทางภาษาประกอบด้วย

- การฟัง
- การพูด
- การอ่าน
- การเขียน

องค์ประกอบของภาษา
1.Phonology 
2.Semantic
3.Syntax
4.Pramatic

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย
1.ระยะเปะปะ อายุแรกเกิดถึง 6 เดือน เด็กจะเปล่งเสียงดังๆ ออกเสียง อ้อ แอ้
2.ระยะแยกแยะ อายุ 6 เดือน ถึง 1 ปี แยกแยะเสียงต่างๆที่ได้ยิน พอใจที่ได้ส่งเสียง
3.ระยะเลียนแบบ อายุ 1-2 ปี เลียนเสียงต่างๆที่ได้ยิน พูดย้ำคำซ้ำๆไปมา ใช้คำศัพท์ได้ 5-20 คำ ทำตามคำสั่งได้ง่ายๆ
4.ระยะขยาย อายุ 2-4 ปี
-อายุ 2 ปี พูดเป็นคำ รู้จักศัพท์ 150-300คำ ใช้สรรพนามแทนตัวเอง
-อายุ 3 ปี พูดเป็นประโยคได้ รู้จักศัพท์ 900-1000 คำ สนทนาโต้ตอบประโยคสั้นๆได้
-อายุ 4 ปี บอกชื่อสิ่งของในรูปได้ ใช้คำบุพบทได้ รู้จักสีอย่างน้อย 1 สี ชอบเล่าเรื่อง
5.ระยะโครงสร้าง อายุ 4-5 ปี ใช้คำบรรยายลักษณะได้ดีขึ้น เริ่มเล่นสนุกกับคำ ทำตามคำสั่ง 3 อย่างต่อกันได้ รู้จักเวลาคร่าวๆ
6.ระยะตอบสนอง อายุ 5-6 ปี สนทนาโต้ตอบเป็นเรื่องราวได้ รู้จักใช้คำถาม ทำไม อย่างไร
7.ระยะสร้างสรรค์ อายุ 6 ปีขึ้นไป เข้าใจคำพูดในสังคม ภาษาพูดเป็นนามธรรมมากขึ้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา

1.วุฒิภาษา
2.สิ่งแวดล้อม
3.การเข้าใจความหมายภาษาที่ใช้พูด
4.การจัดชั้นเรียน
5.การมีส่วนร่วม



 **ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน**


*วันนี้เราเรียนเรื่องการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย*
*ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยไม่ใช่แค่อยู่ในรูปแบบตัวอักษร แต่อยู่ในรูปแบบของรูปภาพด้วย*


*คุณครูปฐมวัยควรใช้คำที่ถูกต้อง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ*


*คุณครูให้ตัวแทนกลุ่มออกไปจับสลาก เพื่อทำงานกลุ่ม นำเสนอ Power Point*





*กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้*

"เป็นคุณครูต้องลายมือสวย ดังนั้นต้องฝึกคัดลายมือ"




  ** สรุป **

       จากการเรียนวันนี้ ทำให้ทราบว่าภาษาเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย ที่กำลังเจริญเติบโตและมีพัฒนาการ คุณครูผู้สอนจึงควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัยของเขา รวมทั้งสนับสนุนให้เขาได้ใช้ความคิดจินตนาการในแบบที่เขาอยากสื่อสารออกมาในรูปแบบของภาษาด้วย