Hetalia: Axis Powers - Taiwan

วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13




** บันทึกอนุทิน **
ประจำวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557





คำคล้องจองของเด็กปฐมวัย

อาหารของเรา             ต้องเอาใจใส่
กินผักผลไม้                          กินไข่กินนม
กินเนื้อกินปลา                       แทนยาขมขม
กินข้าวกินขนม                      อบรมเรื่องกิน
กินของดีดี                            ที่มีวิตามิน
และมีโปรตีน                         เลือกกินเถิดเอย




กิจกรรมที่ทำในวันนี้

1.เรียนเรื่อง "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา"



การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา

1.การแสดงความรู้สึกด้วยถ้อยคำ
2.การสื่อสารกับผู้อื่น
3.เด็กได้มีโอกาสฟัง และมีความเข้าใจ
4.การเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการ์ณในที่สื่อสารที่มีความหมายต่อเด็ก
5.การอ่านในหลายรูปแบบผ่านประสบการ์ณในสื่อความหมายต่อเด็ก




ตัวอย่างกิจกรรมการส่งเสริมทักษะทางภาษา
  
-การเขียนตามคำบอกของเด็ก
-ช่วยเด็กเขียนบันทึก

-อ่านนิทานร่วมกัน
-เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว เตือนความจำ
-อ่านคำคล้องจอง
-ร้องเพลง-เล่าสู่กันฟัง
-เขียนสารถึงกัน




 การประเมิน

1.ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
2.เน้นถึงความก้าวหน้าของเด็ก
3.ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย
4.ให้เด็กมีโอกาสประเมินตนเอง
5.ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
6.ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล
 






2.เรียนร้องเพลง 10 เพลง





3.แบ่งกลุ่มแสดงนิทานโดยใช้เพลงในการดำเนินเรื่อง










** สรุป **

            จากการทำกิจกรรมในวันนี้ทำให้เราทราบว่าเราควรจะจัดสภาพแวดล้อมอย่างไรเพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านภาษามากขึ้น รวมทั้งยังมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กด้วย เช่น การเล่าของเด็ก การเขียน การอ่านคำคล้องจอง เป็นต้น การร้องเพลงก็เป็นอีกกิจกกรรมหนึ่งที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีมากขึ้น และในวันนี้ยังทำให้เราทราบถึงการเล่านิทานที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ทำให้ไม่น่าเบื่อและเกิดความสนุกสนานอีกด้วย



ครั้งที่ 12




** บันทึกอนุทิน **
ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557



กิจกรรมที่ทำในวันนี้

     - ในวันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำนิทานเรื่อง มันคืออะไร?


อุปกรณ์ในการทำนิทาน
- กระดาษ
- กาว
- สี


** ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน  **


อาจารย์ให้ดูตัวอย่างการทำนิทาน







นำตัวอย่างนิทานของรุ่นพี่มาบอกข้อดีและข้อเสีย เพื่อให้เราได้ทำนิทานอย่างถูกต้อง








ลงมือทำนิทานเรื่อง มันคืออะไร






ผลงานของฉัน










**สรุป**


สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมวันนี้ คือ

1. ฝึกการทำนิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
2.ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
3.เข้าใจในรูปแบบของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยมากขึ้น
4.ได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม







































วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11




** บันทึกอนุทิน **
ประจำวันที่ 13 พฤศจิกายน 2557





เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง โลกแห่งนิทานสรรค์สร้างเด็กปฐมวัย

 ณ ตึก 15 ชั้น 8











** สรุป **



       จากกิจกรรมในวันนี้ ทำให้เราทราบว่าโลกนิทานของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างไร เราควรมีเทคนิคการเล่านิทานอย่างที่จะทำให้เด็กสนใจ มีกิจกรรมมวาดรูปโดยเทคนิคต่างๆ จากที่ไม่ชอบวาดรูปก็ทำให้เราเปลี่ยนมาชอบ และวาดรูปได้ตามจินตนาการโดยไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงามเป็นการไม่กีดกั้นจินตนาการความคิดสร้างสรรค์











































ครั้งที่ 10





**บันทึกอนุทิน**

ประจำวันที่ 6 พฤศจิกายน 2557


กิจกรรมในการเรียนการสอน


- นำเสนองาน เรื่อง Project Approach

- สมมติตนเองเป็นครูและสอนเด็กๆร้องเพลง โดยให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอ
- ให้ฝึกเขียนหน้ากระดานเพื่อทดสอบลายมือของแต่ละคน ในเรื่อง วันลอยกระทง
- เล่านิทานเรื่อง มันคืออะไร





** ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน**


นำเสนองาน เรื่อง Project Approach








สมมติตนเองเป็นครูและสอนเด็กๆร้องเพลง โดยให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอ









 ให้ฝึกเขียนหน้ากระดานเพื่อทดสอบลายมือของแต่ละคน ในเรื่อง วันลอยกระทง














เล่านิทานเรื่อง มันคืออะไร
















** สรุป **
         จากการทำกิจกรรมในวันนี้ ทำให้เรามีความเข้าใจในเรื่องการสอนเเบบโครงการมากขึ้น ทำให้เรามีความกล้าแสดงออก มีความรู้และทักษะในการสอนให้เด็กร้องเพลงได้ และทำให้ทราบถึงวิธีการเขียนบนหน้ากระดานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว































































































วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 9




**บันทึกอนุทิน**
ประจำวันที่ 30 ตุลาคม 2557




การสอนแบบโครงการ
(Project Approach )

- ให้โอกาสเด็กเรียนรู้โดยการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ

- หัวเรื่องที่ถูกเลือกควรมีความหมายต่อชีวิตต่อตัวเด็ก และครูสามารถบูรณาการเนื้อหาเช่น คณิตศาสตร์ภาษา วิทยาศาสตร์

-การค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง

-เด็กมีโอกาสที่จะวางแผนสืบค้นด้วยตนเอง โดยมีครูช่วยเหลือ
การสอนแบบหน่วย

•การวางแผนกิจกรรมต่างๆ ตามหัวเรื่องที่ครูพิจารณาแล้วว่าสำคัญและเด็กควรรู้
•ครูมีการวางแผนการสอน กำหนดแนวคิดและสาระความรู้ที่ต้องการให้เด็กทราบอย่างชัดเจน
กระบวนการของการสอนแบบโครงการ 
          •การอภิปรายกลุ่ม
•การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม

•การนำเสนอประสบการณ์

•การสืบค้น

•การจัดแสดง
ระยะของโครงการ

•ระยะที่ 1 ทบทวนความรู้และความสนใจเด็ก
•ระยะที่ 2 ให้โอกาสเด็กค้นคว้าและมีประสบการณ์ใหม่
•ระยะที่ 3 ประเมิน สะท้อนกลับ และแลกเปลี่ยนงานโครงการ





 ** ภาพบรรยากาศในการเรียนการสอน **


** อาจารย์นำตัวอย่างการสอนแบบโครงการของรุ่นพี่มาให้ดู เพื่อเป็นแนวทางในการทำสื่อแล้วนำมาสอนแบบโครงการ**

















** อาจารย์ให้ดูวิดีโอคลิป เรื่อง การสอนแบบโครงการและร่วมกันทำงาน Mind Mapping
ในเรื่อง การสอนแบบโครงการสามารถพัฒนาทักษะทางด้านภาษาได้อย่างไร**

















                                                        ** สรุป**

      การสอนแบบโครงการจะทำให้เด็กกล้าใช้ความสามารถที่มีและประสบการณ์ที่เรียนรู้มามาใช้ในการคิด การหาคำตอบ การใช้เหตุผลในการตอบคำถามถึงที่มาของข้อมูล ทำให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออกมายิ่ง ดังเช่น เด็กกล้าที่จะนำเสนอผลงานด้วยความมั่นใจและภาคภูมิใจ การนำเด็กศึกษานอกสถานที่จะทำให้เด็กเกิดความคิดและความรู้ที่แปลกใหม่ รวมทั้งเด็กยังสามารถเรียนรู้ธรรมรอบตัวเด็กอีกด้วย เมื่อเด็กมีความรู้ใหม่ เด็กก็จะนำมารวมกับความรู้ที่มีอยู่ และจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดี